วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Phu Kradueng


ขอบคุณรูปภาพจาก http://pantip.com/topic/31354101
               คำว่า "ภูกระดึง" มาจากคำว่า ภู แปลว่า ภูเขา และ กระดึง แปลว่า กระดิ่ง เป็นภาษาพื้นเมืองของจังหวัดเลย ด้วยเหตุนี้ ภูกระดึง จึงอาจแปลได้ว่า ระฆังใหญ่ ชื่อนี้มาจากเรื่องเล่าที่ว่าในวันพระชาวบ้านมักได้ยินเสียงกระดิ่งหรือระฆังจากภูเขาลูกนี้เสมอ เล่ากันว่าเป็นระฆังของพระอินทร์ ส่วนอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งคือในบริเวณบางส่วนของยอดเขาหากเดินหนักๆหรือใช้ไม้กระทุ้งก็จะมีเสียงก้องคล้ายระฆังซึ่งเกิดจากโพรงข้างใต้ จึงได้รับการตั้งชื่อว่า "ภูกระดึง"
             อุทยานแห่งชาติภูกระดึง( Phu Kradueng National Park ) ตั้งอยู่ที่อำเภอภูกระดึงในจังหวัดเลย เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทย ภูกระดึงได้รับการจัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2486 และเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 โดยเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่สองถัดจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร

            สภาพทั่วไปของภูกระดึง ประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตกอีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพองซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความสูงบรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปีบนยอดภูกระดึงโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียสจึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวปรารถนาและหวังจะเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึงสักครั้งหนึ่งในชีวิต

ขอบคุณรูปถาพจาก http://travel.kapook.com/view477.html


แหล่งท่องเที่ยว



            การเดินขึ้นภูกระดึงไม่ลำบากมากนัก แต่ระยะทางจะไกลและชัน แต่ระหว่างทางจะมีจุดให้แวะพักเหนื่อยต่างๆ ตามลำดับ ได้แก่ ปางกกค่า ซำแฮก ซำบอน ซำกกกอก พร่านพรานแป ซำกกหว้า ซำกกโดน และซำแคร่ หากเดินขึ้นภูตั้งแต่เช้า อากาศจะค่อนข้างเย็นสบาย มีสิ่งที่น่าสนใจให้ชมไปตลอดทาง โดยเฉพาะสภาพทางธรณีและสภาพป่าที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะๆ จากป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา จนถึงหลังแป จากหลังแปถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวางจะเป็นทางราบท่ามกลางทุ่งหญ้าป่าสนเขาอันกว้างใหญ่ รวมระยะทางจากทางขึ้นไปถึงหลังแปและศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง ประมาณ 9 กิโลเมตร แหล่งท่องเที่ยวบนภูกระดึงส่วนใหญ่มีทางเดินชมธรรมชาติติดต่อถึงกันหมด ฉะนั้น ผู้ที่จะไปท่องเที่ยวบนภูกระดึงควรใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน เพื่อจะได้เที่ยวชมธรรมชาติที่สวยงามเหล่านั้นได้ทั่วถึง อุทยานแห่งชาติภูกระดึงเปิดให้ท่องเที่ยวบนยอดภูกระดึงเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม



การเดินทางขึ้นไปชมความงามบนยอดภูกระดึง ทางอุทยานแห่งชาติอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นได้ตั้งแต่เวลา 07.00 - 14.00 น. ของทุกวัน และหลังจากเวลา 14.00 น.เป็นต้นไปทางอุทยานแห่งชาติจะไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นไปชมความงามบนยอดภูกระดึง เนื่องจากระยะทางในการเดินทางขึ้นเขาประมาณ 9 กิโลเมตร และมีความลาดชันในบางช่วง การเดินทางต้องใช้เวลาในการเดินเท้า ประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งจะตรงกับเวลาพลบค่ำในระหว่างทางเกิดความยากลำบากในการเดินทาง อีกทั้งอาจได้รับอันตรายจากสัตว์ป่าที่ออกหากินในเวลากลางคืน

นอกจากความสวยงามทางธรรมชาติบนภูกระดึงแล้ว พื้นที่ด้านล่างบริเวณเชิงเขาด้านทิศใต้ของภูกระดึงบริเวณพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลย.3 (นาน้อย) ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวตามลำน้ำพองซึ่งประกอบด้วย น้ำตก แก่งหิน พันธุ์พืชที่น่าศึกษาแล้ว เป็นสถานที่พักผ่อนอยู่มากมาย นอกจากนี้ยังคงมีร่องรอยประวัติศาสตร์ของขบวนการเสรีไทย ตลอดทั้งภาพเขียนสีปรากฏบนผนังหินที่มีอายุหลายพันปี ซึ่งสามารถเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 ย้อนกลับไปทางอำเภอภูกระดึงประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง รพช. จากบ้านหนองอิเลิง ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลย.3 (นาน้อย) จากนั้นเดินทางไปตามเส้นทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่



แก่งหินป่าทราย

น้ำตกตาดห้วยวัว

น้ำตกตาดฮ้อง

น้ำตกถ้ำสอใต้

น้ำตกถ้ำสอเหนือ

น้ำตกถ้ำใหญ่

น้ำตกธารสวรรค์

น้ำตกโผนพบ

น้ำตกเพ็ญพบ

น้ำตกเพ็ญพบใหม่

น้ำตกวังกวาง

ผานกแอ่น

ผาหมากดูก

ผาหล่มสัก

ลานวัดพระแก้ว

ลานหินบริเวณองค์พระพุทธเมตตา

สระแก้ว

สระอโนดาด

ป่าปิด

ที่ตั้งและการเดินทาง

-สถานที่ติดต่อ

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
หมู่ที่ 1 บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน  อ. ภูกระดึง  จ. เลย   42180
โทรศัพท์ 0 42-810-833, 0 42-810-834   โทรสาร 0 42-810-833, 0 42-810-834   
อีเมล phukradueng_np@dnp.go.th และ pkd_11@hotmail.co.th

-การเดินทาง



          รถโดยสารประจำทาง

         โดยสารรถยนต์จากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) กรุงเทพมหานคร ไปลงที่ผานกเค้าซึ่งเป็นเขตต่อแดนระหว่างชุมแพ-ภูกระดึง แล้วโดยสารรถประจำทาง (รถสองแถว)ไปลงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึงจากนั้นก็เดินต่อขึ้นไปยอดภูกระดึง ควรใช้รถประจำทางหรือหากนักท่องเที่ยวใช้รถประจำทางเส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น ลงที่ชุมแพและต่อรถสายขอนแก่น-เลย ไปลงที่ตลาดอำเภอภูกระดึงซึ่งจะมีรถสองแถวต่อถึงไปอุทยาน


         รถไฟ

         จากกรุงเทพมหานครโดยสารรถไฟไปลงที่ขอนแก่น จากนั้นโดยสารรถประจำทางสายขอนแก่น-เลยไปยังหน้าตลาดที่ว่าการอำเภอภูกระดึง แล้วต่อรถสองแถวหรือเดินทางต่อไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตรก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึงซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นปีนเขาขึ้นยอดภู จากนั้นต้องเดินเท้าขึ้นยอดภูอีก 5กิโลเมตร จึงจะถึง “หลังแป” แล้วเดินเท้าไปตามทุ่งหญ้าอีก 4 กิโลเมตรก็จะถึงที่พัก บนยอดภูกระดึงทางอุทยาน ได้จัดลูกหาบสัมภาระของนักท่องเที่ยวขึ้นไปบนยอดภูกระดึงคิดค่าบริการเป็นกิโลกรัม


           รถส่วนตัว 

         1.เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้ายภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201(เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง  

         2.ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมาจนถึงจังหวัดขอนแก่น เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201ผ่านอำเภอภูผาม่านและตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง  

         3.เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียวแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพจากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2

ที่พัก-บริการ


 โซนที่พัก-บริการ 
บริเวณโซนที่พัก-บริการคำอธิบาย
โซนที่ 1บ้านภูกระดึง 101-105บ้านพักเดี่ยว โซนบนยอดภูกระดึง
โซนที่ 1บ้านภูกระดึง 106-109บ้านพักเดี่ยว โซนบนยอดภูกระดึง
โซนที่ 1บ้านภูกระดึง 110/1-5บ้านพักเรือนแถว โซนบนยอดภูกระดึง
โซนที่ 1บ้านภูกระดึง 111/1-4บ้านพักเรือนแถว โซนบนยอดภูกระดึง
โซนที่ 1บ้านภูกระดึง 112-113, 115บ้านพักเดี่ยว โซนบนยอดภูกระดึง
โซนที่ 1บ้านภูกระดึง 116-118บ้านพักเดี่ยว โซนบนยอดภูกระดึง
โซนที่ 2บ้านภูกระดึง 201/1-4บ้านพักเรือนแถว โซนที่ทำการด้านล่างก่อนขึ้นภูกระดึง
 ที่พัก-บริการที่เปิดให้บริการจองผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต 
บริเวณชื่อที่พัก-บริการห้องนอนห้องน้ำคน/หลังราคา/คืนสิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 11ภูกระดึง 103 (กุหลาบขาว)3161,800 มีเครื่องนอน
โซนที่ 12ภูกระดึง 104 (เสลี่ยมดง)2182,400 มีเครื่องนอน
โซนที่ 13ภูกระดึง 105 (อัมพวา)2182,400 มีเครื่องนอน
โซนที่ 14ภูกระดึง 106 (สุพรรณิการ์)2182,400 มีเครื่องนอน
โซนที่ 15ภูกระดึง 107 (ทรงบาดาล)2182,400 มีเครื่องนอน
โซนที่ 16ภูกระดึง 108 (สายน้ำผึ้ง)2182,400 มีเครื่องนอน
โซนที่ 17ภูกระดึง 109 (ลำดวนดง)2182,400 มีเครื่องนอน
โซนที่ 18ภูกระดึง 110/1 (เทียนน้ำ)106900 มีเครื่องนอน, ห้องน้ำรวม
โซนที่ 19ภูกระดึง 110/2 (เทียนน้ำ)106900 มีเครื่องนอน, ห้องน้ำรวม
โซนที่ 110ภูกระดึง 110/3 (เทียนน้ำ)106900 มีเครื่องนอน, ห้องน้ำรวม
โซนที่ 111ภูกระดึง 110/4 (เทียนน้ำ)106900 มีเครื่องนอน, ห้องน้ำรวม
โซนที่ 112ภูกระดึง 110/5 (เทียนน้ำ)106900 มีเครื่องนอน, ห้องน้ำรวม
โซนที่ 113ภูกระดึง 111/1 (หยาดน้ำค้าง)11102,000 มีเครื่องนอน
โซนที่ 114ภูกระดึง 111/2 (หยาดน้ำค้าง)11102,000 มีเครื่องนอน
โซนที่ 115ภูกระดึง 111/3 (หยาดน้ำค้าง)11102,000 มีเครื่องนอน
โซนที่ 116ภูกระดึง 111/4 (หยาดน้ำค้าง)11102,000 มีเครื่องนอน
โซนที่ 117ภูกระดึง 113 (สำเภาเงิน)32123,600 มีเครื่องนอน
โซนที่ 118ภูกระดึง 115 (สนทราย)32123,600 มีเครื่องนอน
โซนที่ 119ภูกระดึง 116 (นาคราช)32123,600 มีเครื่องนอน
โซนที่ 120ภูกระดึง 117 (เอพริล 1)2241,600 มีเครื่องนอน
โซนที่ 121ภูกระดึง 118 (เอพริล 2)2241,600 มีเครื่องนอน
โซนที่ 222ภูกระดึง 201/1 (ผกากรอง)1141,200 มีเครื่องนอน, เครื่องทำน้ำอุ่นที่พักอยู่ด้านล่างก่อนขึ้นภูกระดึง
โซนที่ 223ภูกระดึง 201/2 (ผกากรอง)1141,200 มีเครื่องนอน, เครื่องทำน้ำอุ่นที่พักอยู่ด้านล่างก่อนขึ้นภูกระดึง
โซนที่ 224ภูกระดึง 201/3 (ผกากรอง)1141,200 มีเครื่องนอน, เครื่องทำน้ำอุ่นที่พักอยู่ด้านล่างก่อนขึ้นภูกระดึง
รวมเป็น402418046,300  
 
ลานกางเต็นท์
อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อจองเต็นท์กับทางอุทยานได้ในวันที่มาถึง ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศรีฐาน<เชิงเขา>เท่านั้น สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 150-500 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น

เต็นท์ ขนาด คน ราคา 150 บาท/คืน
เต็นท์ ขนาด คน ราคา 225 บาท/คืน
เต็นท์ ขนาด คน ราคา 300 บาท/คืน
เต็นท์ ขนาด คน ราคา 500 บาท/คืน

หมายเหตุ:ราคาไม่รวม ชุดเครื่องนอน
สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง (หรือในกรณีที่เต็นท์ทางอุทยานเต็มและต้องไปเช่าเต็นท์บนยอดเขา
ชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตรา 30/คน/คืน
เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 - 12 ปี จะไม่ได้ชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์
สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเช่าเครื่องนอนทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีไว้บริการดังนี้
ถุงนอน อัตราการเช่า 30 บาท/คืน/ถุง
ที่รองนอน อัตราการเช่า 20 บาท/คืน/อัน
หมอน อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ใบ
ผ้าห่ม อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ผืน
ผ้าห่มอย่างหนา อัตราการเช่า 20 บาท/คืน/ผืน
เสื่อ อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ผืน



             นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าไปท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึง ขอให้ติดต่อ สอบถาม หรือสำรองการเข้าไปใช้บริการล่วงหน้า ทั้งที่พักประเภทเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติและพื้นที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเองตามแผนผังจุดพักแรม ก่อนเดินทางได้โดยตรง ณ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง โทรศัพท์หมายเลข 0-42810-833 และหมายเลข 0-42810-834 ในเวลาราชการ (08.00 น.-16.30 น.) ในกรณีที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางมาท่องเที่ยวพักแรมบนยอดเขาที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึงนั้น ให้มาติดต่อซื้อค่าบริการบุคคลก่อนเวลา 13.30 น. และในเวลา 14.00 น. ของทุกวันจะทำการปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นเขาและลงเขาในแต่ละวัน


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp  
                                http://travel.kapook.com/view477.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น